วิธีดูแลรักษาวิทยุสื่อสาร


เครื่องวิทยุ รับ – ส่ง ชนิดมือถือของเรานั้นส่วนใหญ่เมื่อใช้งานไปพอสมควรแล้ว  ก็จะพบว่าจะต้องมีฝุ่น  มีสิ่งสกปรกเล็ก ๆ น้อย ๆ เข้าไปสะสมภายในเครื่อง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่ออุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ใช้ไปซักช่วงระยะหนึ่ง ย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ซึ่งประสิทธิภาพการใช้งานนั้นก็จะลดลงไม่เหมือนเดิม จึงต้องมีการหมั่นตรวจเช็คดูแลรักษาอยู่เสมอ

วันนี้เรามาดูวิธีดูแลรักษาหรือข้อหลีกเลี่ยงในการใช้งานเพื่อเครื่องวิทยุของเราใช้งานได้ยาวนานขึ้นอย่างง่ายๆ  กัน 4 วิธี

  • เวลาเราคุยกับเพื่อนสมาชิกไม่ควรกดคีย์ (PTT) นานเกินไป ควรเว้นวรรค  เว้นจังหวะไว้บ้าง  เพราะการกดคีย์นาน ๆ จะทำให้เครื่องร้อนและยังทำให้ภาคส่ง (Power Amplifier) เสียเร็วกว่าปกติซึ่งปัจจุบันเครื่องสมัยใหมาก็มักจะมี FUNCTION TOT (Time Out Timer) เพื่อลดความเสี่ยงหายอันเกิดจากกรณีที่คีย์ PTT ค้าง
  • เครื่องไม่ควรโดนน้ำหรือตกกระแทกและไม่ควรโดนแดดเป็นเวลานาน และควรจะมีพวกซองหนังมาห่อหุ้มเพราะจะป้องกันฝุ่นละออง,การขีดข่วน,ความชื้นและลดแรงกระแทกได้ในระดับนึง ถึงแม้จะป้องกันไม่ได้ดีที่สุดแต่ก็ช่วยบรรเทาไม่ให้สิ่งต่าง ๆ เข้าถึง.ในตัวเครื่องได้โดยง่าย
  • สายอากาศ : การบำรุงรักษาสายอากาศให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอจะช่วยให้เครื่องรับ-ส่งวิทยุใช้งานได้ยาวนาน เพราะสายอากาศที่มีปัญหา(หรือที่เราเรียกว่า ไม่แมทชิ่ง)จะมีผลมาถึงเครื่องด้วยทั่งทางด้านภาครับสัญญาณ(RX) และด้านภาคส่งสัญญาณ(TX)ซึ่งทางด้านภาคส่งนี้อาจจะส่งผลโดยตรงกับ PA ของเราด้วยการดูแลรักษาสายอากาศชนิดมือถือหรือ Handy Radio โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
  • สายาง : อย่าหักงอหรือบิดเสายางเล่น  หลายๆท่านในบางเวลานั่งว่างๆไม่มีอะไรทำ ไม่รู้จะทำอะไรเอาเสายางมาหมุนเล่น บิด หรือนำมาโค้งเล่น  อาจจะทำให้เสาหักในได้ถึงจะสามารถโค้งได้  แต่ไม่ควรทำเพราะทำให้ส่วนที่เป็นยางฉีกขาดได้ อาจมีผลให้สภาพการใช้งานผิดปรกติได้ง่ายๆ
  • เสาชัก : การใช้เสาชักมักจะมีปัญหาตรงขั้ว BNC  เมื่อชักเสาจนสุดแล้วขั้ว BNC จะรับน้ำหนักมากทำให้ขั้ว BNC หลวม  ควรจับเครื่องให้สายอากาศตั้งในแนวดิ่งที่สุด  อีกจุดหนึ่งที่ต้องระวังก็คือ  เวลาถอดหรือเปลี่ยนสายอากาศออกจากตัวเครื่องให้กดตรงข้อต่อสายอากาศเข้าหาตัวเครื่องหรือกดขั้วลงก่อนแล้วจึงบิดขั้วออกจากบ่าขั้ว BNC เพื่อช่วยไม่ให้บ่าขั้ว BNC สึกเร็วและจะทำให้หลวมได้ การเอาเครื่องเหน็บเอาไว้โดยมีเสาชักอยู่การเคลื่อนไหวของร่างกายในอริยะบทต่างๆ ก็อาจทำให้เสาหักได้  แต่ส่วนใหญ่โคนเสาจะเป็นสปริงที่ยืดหยุ่นก็พอจะช่วยได้บ้าง
  • แบตเตอร์รี่ : แบตเตอรี่ หรือหลายๆคนเรียกว่าแพ็คถ่าน

แพ็คถ่านจะบรรจุถ่านที่สามารถชาร์ตไฟได้ การชาร์ตถ่านควรชาร์ตถ่านอย่างสม่ำเสมอเมื่อตัวเครื่องวิทยุมีการแจ้งเตือนสถานะของแบตเตอร์รี่ใกล้หมด ไม่ควรรอจนใช้ให้หมดไปเลยทีเดียว เพราะแบตเตอร์รี่ในรุ่นใหม่ๆสมัยนี้โดยส่วนมากเป็นชนิด Li-ion หรือ Li-Po แทบทั้งหมดแล้ว ซึ่งคุณสมบัติ ไม่จำเป็นต้องใช้งานจนหมด การชาร์ตจะใช้การนับรอบของการชาร์ตหรือ Cycle แพ็คถ่านไม่ควรทิ้งไว้ในที่อุณหภูมิร้อนจัดหรือเย็นจัด  ถ่านจะเสื่อมเร็วขึ้น   ถ่านดี ๆถ้าเก็บไว้โดยไม่ชาร์ตเลยเป็นเวลานาน ๆ หลายๆ เดือนก็เสื่อมได้เหมือนกัน จะทำให้เมื่อชาร์ตแล้ว

กรณีที่ชาร์ตถ่านโดยที่ไม่ได้ถอดแพ็กถ่านออกจากตัวเครื่อง เราก็สามารถ Standby ฟังได้ แต่ไม่ควรกดคีย์ในขณะที่เครื่องตั้งอยู่กะแท่นชาร์จเพราะจะมีการดึงกระแสมาใช้งานเยอะมากกว่าขณะ Standby ฟังซึ่งจะทำให้เครื่องพังได้ ควรทำความสะอาดจุดต่อขั้วแพ็คถ่านถ้าเป็นสนิมให้ใช้กระดาษทรายขัดออก เพราะถ้าสกปรกจะทำให้กระแสไฟจากแท่นชาร์ตเข้ายังแพ็คถ่านได้ไม่สะดวกการสังเกตว่าถ่านเสียหรือไม่ ให้สังเกตจากการชาร์จและนำไปใช้งานกดคีย์ส่งได้ไม่กี่ครั้งถ่านหมดเร็ว และให้ดูจากอายุการใช้งานของถ่านปกติถ่านที่ใช้งานและชาร์จอย่างสม่ำเสมอจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปี .แล้วแต่ลักษณะของผู้ใช้งานผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้อ่านคงจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยและนำไปปฏิบัติเพื่อให้วิทยุของท่านสามารถใช้งานได้นานและใช้งานได้ประโยชน์สูงสุดครับ

ทีมวิศวกร T.C. Group

Shopping cart

0
image/svg+xml

No products in the cart.

This website uses cookies and asks your personal data to enhance your browsing experience.

Thank you for your submission

Verified by MonsterInsights